วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การลงทุน

     ในสถานการณ์ปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารกลับลดน้อยถอยลง ซึ่งเป็นอัตราที่สวนทางกัน  ดังนั้นจึงมีผู้คนที่จะพยายามออมเงินด้วยการลงทุนในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งมีทั้ง ซื้อทอง , พันธบัตรรัฐบาล ,สลากออมสิน , อสังหาริมทรัพย์ , กองทุนต่างๆ

แต่ทั้งนี้การลงทุนในรูปแบบต่างๆ ก็มีทั้งสภาพคล่องและความเสี่ยงไม่เท่ากัน (สภาพคล่องคือ ความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงิน หรือ กระแสเงินสด)  ซึ่งมักจะแปรผันไปตามผลตอบแทนที่ได้รับ  อาทิ เงินฝากธนาคาร สภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำ หรือ หุ้น ที่มีสภาพคล่องปานกลาง ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง เป็นต้น

 
ทีนี้เราควรจะแบ่งการลงทุนอย่างไรดี
ตรงนี้แล้วแต่หลักการของแต่ละคน  แต่โดยส่วนตัวผมเอง ผมได้แบ่งการลงทุนตามสภาพคล่อง ของสินทรัพย์ที่จะเราไปลงทุน  คือ แบ่งเป็น สภาพคล่องสูง , สภาพคล่องปานกลาง  และสภาพคล่องต่ำ (บางท่านอาจแบ่งตามความเสี่ยง, บางท่านอาจแบ่งตามกระแสรายได้)   
โดยลักษณะการแบ่งสินทรัพย์ของผมก็ประมาณนี้
- สภาพคล่องสูง = เงินฝากธนาคาร
- สภาพคล่องปานกลาง = ทองแท่งหรือทองรูปพรรณ , หุ้น , พันธบัตรรัฐบาล
- สภาพคล่อง = ที่ดิน, อสังหาริมทรัพย์


โดยการลงทุนที่ผมจะมาแนะนำทุกท่านคือ หุ้น  หุ้นคือ ตราสารที่บริษัทฯที่ได้ทำการจดเข้าทะเบียนตลาดหลักทรัพย์และได้ทำการขายตราสารนี้อออกมาให้กับผู้สนใจลงทุนได้ซื้อหรือเก็งกำไร  ความหมายง่ายๆ คือ บริษัทฯ ทำตราสารออกมาเพื่อยืมเงินบุคคลที่สนใจไปลงทุน  ผู้ซื้อก็จะได้ความเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นเจ้าของร่วมกับกิจการนั้นๆ  

การลงทุนในหุ้นมีแนวทางการลงทุนหลายแบบ เช่น day trade , เล่นรอบ , VI , ฯลฯ  ซึ่งแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ทั้งนี้ผมจะแนะนำในแนวทางของผม ซึ่งก็ได้ดัดแปลงมาจากอีกหลายๆท่านที่เป็นกูรูในด้านนี้ ก็คือแนวห่านทองคำ ซึ่งจะอธิบายในโอกาสต่อไป

>>> บางคนบอกว่าต้องมีเงินมากแค่ไหนในการลงทุนหุ้นหรือเล่นหุ้น  ผมขอบอกว่าขั้นต่ำ เพียงแค่เดือนละ 500-1,000 บาทครับ  เหมือนฝากเงินประจำ  ซึ่งท่านอาจฝากประจำกับธนาคารอยู่แล้วก็ฝากไป (สภาพคล่องไม่เหมือนกัน)  เพียงแค่เพิ่มในส่วนของตรงนี้มาลงทุนในแต่ละเดือนๆ เท่านั้นเอง  และผมก็ไม่แนะนำให้นำเงินทั้งหมดมาลงทุนในหุ้น ควรแบ่งการลงทุนไว้หลายๆทาง

>>>>> ถ้าสนใจจะซื้อหุ้นแล้ว ทำอย่างไร  >>> ก่อนอื่นต้องไปต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น กับบริษัทฯ หลักทรัพย์ต่างๆ  ซึ่งผมจะแนะนำในบทความถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น