วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ข้อควรระวังในการซื้อหุ้นปันผล Part 1



หลายคนที่ลงทุนในหุ้นมักจะเฟ้นหาหุ้นที่จ่ายปันผลดีและจ่ายในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร แต่ในหุ้นปันผลเองก็มีสิ่งที่ต้องระวังก่อนจะทำการลงทุนในหุ้นนั้น ๆ  ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนควรต้องใส่ใจหรือวิเคราะห์ได้แก่

(1) พื้นฐานของกิจการ
ในการลงทุนหุ้นไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตาม ข้อนี้คือสิ่งที่ต้องศึกษาทุกครั้งทั้งก่อนซื้อหุ้นและหลังซื้อหุ้นไปแล้วก็ตาม  เพราะการศึกษาพื้นฐานของกิจการจะทำให้เราทราบได้ว่ารายได้ต่าง ๆ ของบริษัทเป็นอย่างไร มีแนวโน้มอย่างไร เพราะถ้าพื้นฐานกิจการไม่ดีไม่มั่นคง ก็อาจทำให้บริษัทกำไรลดลงซึ่งเป็นเหตุให้การจ่ายเงินปันผลน้อยลงหรืองดจ่ายเงินปันผลออกมา   นักลงทุนสามารถศึกษากิจกการและติดตามผลการดำเนินงานได้โย การอ่านรายงานประจำปี และงบการเงินทุกไตรมาศ ซึ่งช่วยให้เรารับรู้ถึงพื้นฐานกิจการได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งรายรับรายจ่ายต่าง ๆ

(2) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
ในแต่ละบริษัทจะมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่แตกต่างกัน เช่น ไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิ หรือ ไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิ ฯลฯ  ซึ่งตรงส่วนนี้สามารถดูได้จากเวบไซต์ www.set.or.th หรือ www.settrade.com  ในส่วนของหัวข้อนี้จะยกเคสตัวอย่างนะครับ

 - บริษัท XYZ มีกำไรปี 2555 หุ้นละ 3 บาท  มีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 30% จากกำไร  ต่อมาบอร์ดบริหารบริษัท XYZ ประกาศให้จ่ายปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2555 ที่หุ้นละ 1.5 บาท ซึ่งคิดเป็น 50% จากกำไรต่อหุ้น ซึ่งเงินปันผลดังกล่าวมากกว่านโยบายที่กำหนดไว้
 - ในปี 2556 บริษัท XYZ มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มเป็นหุ้นละ 4 บาท  และบอร์ดบริหารก็ประกาศเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 1.2 บาท ซึ่งจ่ายปันผลน้อยกว่าปีก่อนเสียอีกทั้ง ๆ ที่กำไรเพิ่มขึ้น แต่ก็ถือว่าจ่ายปันผลตามนโยบายคือจ่ายที่ 30%จากกำไรต่อหุ้น  

จากตัวอย่างดังกล่าวนักลงทุนจะต้องติดตามข่าวของบริษัทฯ ว่าที่จ่ายปันผลน้อยลงเพราะอะไร ต้องการนำเงินไปลงทุนขยายกิจการ หรือ แนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดี หรือ กระแสเงินสดของบริษัทฯ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่  หากพบความผิดปกติก็อาจจะต้องพิจารณาในหุ้นหรือบริษัทนั้น ๆ กันให้รอบคอบอีกครั้ง

** ทั้งนี้ระยะเวลาในการจ่ายปันผลแต่ละบริษัทฯ ก็ไม่เหมือนกัน บางที่จ่ายทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน และจ่ายปีละครั้ง   ยกตัวอย่างเช่น บริษัท XYZ ในปี 2556 จากตัวอย่างด้านบน สมมุติว่าใช้นโยบายการจ่ายปันผลทุก 6 เดือน (ทั้งปีจ่าย 2 รอบ)  รอบแรกอาจจ่ายเพียง 0.4 บาท แล้วรอบหลังค่อยจ่าย 0.8 บาท  (บริษัทฯรอดูผลประกอบการทั้งปี)


ทั้งนี้ขอจบ Part 1 ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วจะรีบมาปั่น part ต่อไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น